วันอาทิตย์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ตำราร่มบิน "การฝึกร่มบิน"

     กีฬาร่มบิน เป็นกีฬาที่มีความปลอดภัยสูง หากผู้ฝึกได้รับความรู้ที่ถูกต้อง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขีดความสามารถและประสบการณ์การถ่ายทอดของผู้ฝึกสอน สิ่งที่ต้องคำนึงอยู่ตลอดเวลาของการฝึกสอน ไม่ใช่เพียงแค่การบินเป็นเพียงอย่างเดียว “แต่บินอย่างไรให้ปลอดภัยนั้นสำคัญที่สุด” นักบินฝึกใหม่อย่างน้อยต้องบินขึ้น-ลง 10-15 ไฟท์ ระยะเวลาการฝึกจะเป็นช้าหรือเร็ว โอกาสจะเก่งมากหรือน้อย นั้นมีองค์ประกอบหลักๆ ดังนี้

1. เบสิคการตั้งร่ม ที่ถูกต้อง
2. ประสบการณ์การถ่ายทอดของครูฝึก
3. ทักษะของนักบิน trainning
4. อุปกรณ์การฝึก
การวางร่ม และการจัดร่มในระยะเท่าๆ กัน โดยตัวอยู่กึ่งกลางของร่ม ในแนวตรงแกนลมด้านหน้า ( วิ่งสวนลม )


 
จับ สายไรเซอร์ A ทั้งสองข้าง (ส่วนใหญ่จะใช้สีแดง หรือเขียนคำว่า A ที่ไรเซอร์)
ไว้ที่ง่ามมือ ให้สายตึงเท่าๆกัน โดยกางแขนให้ตึงเท่ากันทั้งสองข้าง ลักษณะรูปตัว V เหนือหัว
โดยจัดให้ตัวยืนอยู่กึ่งกลางของร่ม และวางเท้าให้เท่ากันทั้งสองข้าง ในท่าเตรียมพร้อม
การเริ่มต้นTAKE OFF โดยการดึง A ทั้งสองข้างพร้อมออกแรงโน้มตัวเอียงไปข้างหน้า โดยการออกกำลังที่ไหล่และต้นแขน พร้อมวิ่งให้ตรงแกนลม
แหงนหน้ามองร่มด้านบน เมื่อร่มตรงศีรษะให้ปล่อยสาย A ทั้งสองข้าง
พร้อมวิ่งไปข้างหน้าเพื่อสร้าง POWER  ( ถ้าหยุดวิ่ง ร่มจะเอียงตกข้างหรือด้านหลัง )
เมื่อร่มตรงให้ชูมือทั้งสองข้าง พร้อมออกแรงประคองร่มวิ่งไปข้างหน้า ให้ตรงแกนลม โดยแหงนหน้าดูอาการของร่ม และแต่งร่มตามจังหวะและอาการทุกอย่างกระทำอย่างช้าๆ และนิ่มนวล 
เมื่อร่มเกิดอาการเอียง ให้วิ่งแก้ร่มในทิศทางนั้น เช่น ร่มตกด้านซ้าย..ให้วิ่งไปทางซ้าย ร่มตกด้านขวา...ให้วิ่งไปทางขวา โดยสเต็ปก้าวเท้าเฉียงไปข้างหน้าในลักษณะทำมุม 45องศา
                   การวิ่งแก้ร่มทำมุม 45องศา พร้อมกับสร้าง POWER เพื่อประคองให้ร่มตึง
  
 การวิ่งแต่งร่ม
กรณีร่มเอียงด้านซ้าย  >>> ให้วิ่งไปทางซ้าย  >>> ดึงเบรคด้านขวา โดยสเต็ปเท้าซ้ายวิ่งไปข้างหน้าทำมุม 45 องศา
กรณีร่มเอียงด้านขวา  >>> ให้วิ่งไปทางขวา  >>> ดึงเบรคด้านซ้าย โดยสเต็ปเท้าขวาวิ่งไปข้างหน้าทำมุม 45 องศา
การดึงแก้อาการของร่มให้ ดึงทีละข้างอย่างช้าๆ และนิ่มนวล โดยมืออีกข้างหนึ่งชูขึ้นจนสุดรอก เช่น ดึงขวา..ชูด้านซ้าย     ดึงซ้าย..ชูด้านขวา เมื่อร่มตรงให้ชูมือทั้งสองข้าง จนสุดรอก พร้อมออกแรงโน้มตัววิ่งไปข้างหน้า กรณีที่ร่มจะตกลงด้านหลังให้ออกแรงที่หัวไหล่ทั้งสองข้าง และทิ้งตัวไปด้านหน้า และวิ่งประคองร่มต่อไป
 
ในกรณีการฝึกดึงร่มผู้ฝึกสอน อาจมีการช่วยผ่อนแรงโดยการดึงบริเวณด้านหน้าเพื่อไม่ให้นักบินเสียกำลังมากและเหนื่อยจนเกินไป  และคอยช่วยบอกทิศทางการวิ่งแก้ร่มเอียง
  


การบล็อคหรือผลักจากบริเวณด้านหลังก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยผ่อนแรงได้เช่นกัน กรณีที่ลมแรง หรือใช้ร่มตัวใหญ่ วิธีนี้จะช่วยผ่อนแรงนักบินได้มาก
นักบินที่ฝึกใหม่ อาจต้องใช้เวลา 3 - 4 วัน ในการฝึกดึงร่ม จะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับระยะเวลา ความต่อเนื่อง และทักษะของผู้ฝึก และหาทักษะเกี่ยวกับร่ม เพื่อสร้างความคุ้นเคย จนกว่าทุกสิ่งอย่างจะเป็นไปโดยอัตโนมัติ สิ่งที่ครูฝึกต้องประเมินผลในขั้นนี้ คือการควบคุมสติ ไม่ตื่นตกใจง่าย
"ขาอย่าตาย มืออย่าตก" ขั้นตอนนี้ถือว่าสำคัญที่สุด เพราะเป็น เบสิก ขั้นพื้นฐาน

สิ่งที่ต้องเรียนรู้ก่อนทำการบิน
1.ความรู้เกี่ยวกับอากาศพลศาสตร์ (Arodynamic) เพื่อการควบคุมบังคับ
2.อุตุนิยมวิทยาเบื้องต้น เป็นความรู้เกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ ลักษณะต่างๆ ของอากาศ
3.ความรู้การเดินอากาศขั้นพื้นฐาน เป็นความรู้เกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์การบิน, การคำนวณระยะทางในการบิน, การคำนวณความเร็วลม, การวางแผนการบิน
4.กฎระเบียบในการบิน เป็นความรู้เกี่ยวกฎหมายที่ต้องปฏิบัติในการบิน
การตรวจสอบอุปกรณ์ และสิ่งสำคัญในการบิน  (Pre Flight Check)
1.แผนการบิน (Flight Plan)
2.การตรวจเช็คอุปกรณ์ในการบิน เช่น ร่ม, สายไรเซอร์, เครื่องยนต์
3.สภาพภูมิอากาศ เช่น ความเร็วลม, เมฆลักษณะต่างๆ                                                                          
สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการบิน

1.การบินขึ้น (Take off) ต้องคำนึงถึง 3 สิ่งคือ ทิศทาง, สนาม และความเร็ว
2.ระหว่างการบินอยู่ในอากาศ ต้องคำนึงถึง 4 สิ่งคือ ทิศทาง, สนาม, ความเร็ว และความสูง
3.การลงจอด (Landing) ต้องคำนึงถึง 3 สิ่งคือ ทิศทาง, สนาม และความเร็ว